Skip to content

Rent to Own เทรนด์ใหม่ อาชีพอิสระ เป็นเจ้าของบ้านได้ง่ายขึ้น

อาจไม่เป็นที่แพร่หลายในไทยสำหรับ Rent to Own (เช่าซื้ออสังหาฯ) อย่างไรก็ตาม จากกฎเกณฑ์ปล่อยสินเชื่อกู้บ้านของธนาคาร ของกลุ่มอาชีพอิสระ – ธุรกิจส่วนตัว เข้มงวดอย่างมาก ทำให้เทรนด์ ‘เช่าซื้อ‘ อสังหาฯ เป็นที่นิยม หลายคนเรียกว่า ‘บ้านผ่อนตรงกับเจ้าของ’ เปิดโอกาสให้อาชีพอิสระ พ่อค้าแม่ขาย ฟรีแลนซ์ พริตตี้ MC เทรดหุ้น ฯลฯ เป็นเจ้าของบ้านได้ง่ายขึ้น ภายใต้ข้อตกลง – สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย

Rent to Own

ตามจริง Real Estate Developer อยากเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนี้ เพราะมีกำลังจ่าย – หาเงินเก่ง แค่เข้าถึงสินเชื่อปกติยาก ฝั่งแบงค์อยากปล่อยก็จริง แต่มี ‘ความเสี่ยงสูง’ เกิด NPL เพราะอาชีพการงานไม่มั่นคง เลยชะงักงันแบบนี้ 

อย่างไรก็ตาม Developer บางรายเริ่มออกแคมเปญ Rent to Own เช่าซื้อระยะสั้นแล้ว เช่น

Rent to Own
Rent to Own

เสนาเช่าซื้อ 

จาก Sena Development ทำผ่านบริษัทฯ ย่อย ลูกค้าต้องส่งเอกสารประเมินความพร้อมก่อน แล้วทำสัญญาเช่าซื้อระยะเวลา 3 ปี (โครงการที่กำหนด) ระหว่างนี้บริษัท จะดูแลเรื่องจัดการบัญชี เครดิต จนครบ 3 ปี นำเงินที่จ่ายผ่านมาทั้งหมด เป็นส่วนลดหน้าสัญญา และยื่นกู้ธนาคารต่อไป

ปัจจุบันเริ่มกับคอนโดฯ ราคาเฉลี่ย 2-3 ล้านบาท อนาคตคาดว่าบ้าน – ทาวน์โฮม จะเข้าแคมเปญด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม – https://www.sena.co.th/rent-to-own/

Rent to Own
Rent to Own

Pruksa Pass

ฝั่งพฤกษาทำเหมือนกับ Sena ครับ ขั้นตอนต่างกันหน่อยนึงคือ ลูกค้าต้องยื่นกู้ธนาคารก่อน ถ้าไม่ผ่านค่อยมาคุยกัน ทำสัญญาเช่าซื้อ (สูงสุด) 3 ปี มีเงื่อนไขต้องดูแลสภาพห้องตามที่กำหนด และอื่นๆ ตามภาพ ซึ่งระบุไว้ค่อนข้างชัดเจนเลย

รายละเอียดเพิ่มเติม – https://www.pruksa.com/promotion/pruksapass

Rent to Own

Juzmatch

เป็นรายแรกๆ ที่นำรูปแบบ Rent to Own ให้บริการ บริษัทฯ เป็น Startups ลงทุนโดย Sansiri เป็นตัวกลางจับคู่ระหว่าง Investor ที่มีคอนโด ทาวน์โฮม บ้าน สามารถนำมาให้เช่าซื้อ / ขายตามเงื่อนไข กับ Buyer คือลูกค้าที่มีอาชีพอิสระ ต้องการเป็นเจ้าของบ้านนั่นเอง 

รายละเอียดเพิ่มเติม – https://www.juzmatch.com/

โดยเรทราคาบ้าน – ค่าเช่าที่ต้องจ่าย ขึ้นอยู่กับตกลงกัน ปกติจะแพงกว่าซื้อขาย – เช่าปกติ เพราะมีเงื่อนไขมากกว่า และฝั่งผู้ขายมีความเสี่ยงอาจเจอลูกค้าไม่รับผิดชอบ / ชักดาบ / วินัยการเงินไม่ดี / ดูแลรักษาบ้านไม่เหมาะสมเช่นกัน ส่วน สัญญากับ Developer มีความเป็นมาตรฐานกว่า ทำกับบริษัทฯ โดยตรง คัดกรองเข้มงวด และ Asset นำมาทำแคมเปญมีราคาไม่สูงนัก

ฝั่งของผู้เช่าซื้อ หลังทำสัญญาแล้ว ควรสร้างเครดิต (Build Statement) เพิ่มรายได้ ลดหนี้สิน และ รวบรวมเอกสารทวิ 50 (หากรับงานจากบริษัท) เพื่อยื่นขอสินเชื่อครั้งต่อไป อาจใช้เวลาอย่างน้อย 6-10 เดือน หลังจากยื่นกู้ครั้งก่อนหน้า ปกติทางธนาคารจะให้คำแนะนำครับ

ข้อดี

  • กลุ่มอาชีพอิสระเป็นเจ้าของบ้าน / คอนโดง่ายขึ้น อาจไม่ต้องยื่นขอสินเชื่อธนาคารเลย หรือยอดน้อยลง เปรียบเสมือนผ่อนดาวน์ระยะยาว ทำให้กู้ผ่านง่าย ระหว่างทาง Developer เข้ามาดูแลการสร้างเครดิตด้วย
  • ล็อคราคา Asset ไว้ ณ วันทำสัญญาเช่าซื้อ เพราะการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ต้นทุนสูงขึ้น ราคาขายย่อมแพงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะการซื้อจาก Developer โดยตรง
  • เพิ่มโอกาสหารายได้ คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยเฉพาะ Creator, Streamer ที่มีบ้านแล้วทำงานสะดวกขึ้นเยอะ หรือแม่ค้าออนไลน์ เอาบ้านไว้สต๊อกของ ขยายธุรกิจมากกว่าเดิม

จุดด้อย

  • สัญญา เงื่อนไข จุกจิกพอสมควร เทียบกับการเช่าปกติ / ยื่นขอสินเชื่อ – โอนกรรมสิทธิ
  • ผู้เช่าซื้อ ไม่สามารถต่อเติม ทำอะไรกับตัวบ้าน, คอนโดฯ ได้มากนัก ตามรายละเอียดสัญญา เนื่องจากกรรมสิทธิเป็นของ Owner, Developer
  • ต้นทุนการซื้อค่อนข้างสูงกว่ายื่นสินเชื่อขั้นตอนปกติ เนื่องจาก Investor ต้องคิดเผื่อกำไร ต้นทุนทางการเงิน ค่าใช้จ่ายหลายอย่างเผื่อไว้ อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับการเจรจาตกลงกัน
  • ไม่สามารถเลือกตำแหน่ง ขนาด แปลง ยูนิตที่ต้องการ

ภาพรวมประมาณนี้กับ Rent to Own ถือว่าเป็นตัวเลือกของอาชีพอิสระ ต้องการมีบ้านต่อยอดธุรกิจ การงานดีขึ้นกว่าเดิม มีทั้งข้อดีข้อเสีย ต้องลองชั่งน้ำหนักให้ดี